ข้ามไปเนื้อหา

การฉ้อโกงบิตคอยน์บนทวิตเตอร์ พ.ศ. 2563

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การฉ้อโกงบิตคอยน์บนทวิตเตอร์ พ.ศ. 2563
ทวีตหนึ่งจากบัญชีทางการของแอปเปิล มีข้อความที่แปลเป็นไทยได้ว่า "เรากำลังจะตอบแทนให้กับชุมชนของเรา พวกเราสนับสนุนบิตคอยน์และเชื่อว่าคุณควรจะสนับสนุนมันเหมือนกัน! บิตคอยน์ทั้งหมดที่ถูกส่งมาที่ที่อยู่ของเราจะถูกส่งกลับหาคุณเพิ่มเป็นสองเท่า!" ที่อยู่ดังกล่าวนั้นได้เซนเซอร์ออก ส่วนด้านล่างเขียนว่า "จะเปิดให้ทำภายใน 30 นาทีต่อไปนี้เท่านั้น"
ทวีตหนึ่งจากบัญชีทางการของแอปเปิล มีข้อความที่แปลเป็นไทยได้ว่า "เรากำลังจะตอบแทนให้กับชุมชนของเรา พวกเราสนับสนุนบิตคอยน์และเชื่อว่าคุณควรจะสนับสนุนมันเหมือนกัน! บิตคอยน์ทั้งหมดที่ถูกส่งมาที่ที่อยู่ของเราจะถูกส่งกลับหาคุณเพิ่มเป็นสองเท่า!" ตามด้วยที่อยู่ (ซึ่งถูกเบลอออก) และ "จะเปิดให้ทำภายใน 30 นาทีต่อไปนี้เท่านั้น"
วันที่15 กรกฎาคม 2020 เวลา 20:00–22:00 UTC
เป้าหมายบัญชีผู้ใข้ทวิตเตอร์ที่ได้รับยืนยัน
ผลอย่างน้อย 130 บัญชีที่ได้รับผลกระทบ ผู้ก่อการได้รับเงินไปราว US$110,000 เป็นมูลค่าบิตคอยน์

วันที่ 15 กรกฎาคม 2020 เวลาตั้งแต่ 20:00 ถึง 22:00 UTC เกิดเหตุบัญชีทวิตเตอร์ที่มียอดผู้ชมสูง (high-profile) จำนวนหนึ่งซึ่งล้วนมีผู้ติดตามหลายล้านคนถูกการโจมตีทางไซเบอร์เพื่อเผยแพร่การหลอกลวงบิตคอยน์[1][2] ในการหลอกลวงนี้ได้มีการขอให้ผู้อ่านได้ส่งเงินจำนวนหนึ่งด้วยสกุลเงินบิตคอยน์มายังครืปโตเคอเรนซีวอลเล็ตหนึ่ง พร้อมทั้งสัญญาว่าจะส่งเงินคืนให้เพิ่มเป็นสองเท่า[3] จากแหล่งข้อมูลที่ได้พูดคุยกับ ไวซ์ และ เทคครันช์ ได้ระบุว่าผู้ก่อการได้เข้าถึงเครื่องมือการควบคุมระบบของทวิตเตอร์จึงสามารถเข้าไปแก้ไข (alter) บัญชีต่าง ๆ และโพสต์ทวีตต่าง ๆ ได้โดยตรง ด้วยการเข้าถึงซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจมาจากการจ่ายเงินให้พนักงานของทวิตเตอร์ใช้เครื่องมือแก้ไขนั้น หรือจากบัญชีของพนักงานเพื่อเข้าถึงเครื่องมือดังกล่าวได้โดยตรง[4][5]

ข้อมูลจากวันที่ 16 กรกฎาคม 2020 ระบุว่ามีเงินมากกว่า 12 บิตคอยน์ (BTC หรือ ₿) ที่ถูกส่งไปยังที่อยู่หนึ่งที่เกี่ยวข้อง เทียบเท่ากับจำนวนเงินมากกว่า US$110,000[6] เพียงไม่กี่นาทีหลังทวีตต่าง ๆ ถูกโพสต์ ได้มีการทำกิจกรรมทางการเงินมากกว่า 320 ครั้งไปยังหนึ่งในที่อยู่วอลเล็ตดังกล่าว[1]

ดมิทรี อัลเปอโรวิตช์ ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทความปลอดภัยไซเบอร์ คราวด์สไตรก์ อธิบายเหตุการณ์นี้ว่าเป็น "การโจมตีบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียหลักที่เลวร้ายที่สุดที่เคยมีมา"[2][7]

วันที่ 31 กรกฎาคม 2020 กระทรวงยุติธรรมประกาศว่าได้จับกุมและตั้งข้อหาสามคนที่เกี่ยวข้องกับเหตุดังกล่าว[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Iyengar, Rishi (July 15, 2020). "Twitter accounts of Joe Biden, Barack Obama, Elon Musk, Bill Gates, and others apparently hacked". CNN Business. สืบค้นเมื่อ July 15, 2020.
  2. 2.0 2.1 "Musk and Gates 'hacked' in apparent Bitcoin scam". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). July 15, 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 15, 2020. สืบค้นเมื่อ July 15, 2020.
  3. Sheth, Sonam (July 15, 2020). "Former President Barack Obama's Twitter account appears to have been hacked as part of a cryptocurrency scam". Business Insider. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 16, 2020. สืบค้นเมื่อ July 15, 2020.
  4. Cox, Joseph (July 15, 2020). "Hackers Convinced Twitter Employee to Help Them Hijack Accounts". Vice. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 15, 2020. สืบค้นเมื่อ July 15, 2020.
  5. Whittaker, Zack (July 15, 2020). "A hacker used Twitter's own 'admin' tool to spread cryptocurrency scam". TechCrunch. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 16, 2020. สืบค้นเมื่อ July 15, 2020.
  6. Leswing, Kif (July 15, 2020). "Hackers appear to target Twitter accounts of Elon Musk, Bill Gates, others in digital currency scam". CNBC (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 15, 2020. สืบค้นเมื่อ July 15, 2020.
  7. "Twitter accounts of Elon Musk, Barack Obama, Bill Gates and more hacked in bitcoin scam". SBS News (ภาษาอังกฤษ). July 15, 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 16, 2020. สืบค้นเมื่อ July 16, 2020.
  8. "Three Individuals Charged For Alleged Roles In Twitter Hack". United States Department of Justice. July 31, 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 31, 2020. สืบค้นเมื่อ July 31, 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]